จังหวัดเชียงใหม่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก จัดฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่จังหวัดเชียงใหม่


ปภ. จัดฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่จังหวัดเชียงใหม่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก จัดฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่จังหวัดเชียงใหม่
วันนี้ (15 ธ.ค.62) ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานเปิดการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก พ.ศ.2562 โดยมี นายคมสัน สุวรรณอัมพา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ ทั้งนี้เพื่อทดสอบการตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินระดับชาติของประเทศไทย ในด้านการประสานการรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากต่างประเทศเมื่อเกิดสาธารณภัยร้ายแรงยิ่ง และมุ่งพัฒนาศักยภาพของทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมืองของประเทศไทย ให้มีความพร้อมในการเข้ารับการประเมินศักยภาพเป็นทีมขนาดกลางตามมาตรฐาน INSARAG ในปี พ.ศ.2564 ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีหน่วยปฏิบัติการด้านการค้นหาและกู้ภัยแห่งชาติ (TEAM THAILAND) ที่มีขีดความสามารถในการรองรับสาธารณภัยขนาดใหญ่ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และได้รับการรับรองการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสากล

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ปัจจุบันสาธารณภัยเกิดบ่อยครั้ง มีแนวโน้มรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับยกระดับมาตรฐานด้านการค้นหาและกู้ภัยของประเทศ เพื่อรองรับการจัดการสาธารณภัยในทุกระดับ อีกทั้งยังเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาศักยภาพในการจัดการและตอบโต้ภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ โดยครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุระดับภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก พ.ศ.2562 (INSARAG Asia – Pacific Regional Earthquake Response Exercise : ERE 2019) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2562 และได้ดำเนินการในรูปแบบการฝึกซ้อมตามบทบาทหน้าที่ ตามมาตรฐาน INSARAG โดยจำลองเหตุการณ์การเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง อาคารและสิ่งสาธารณประโยชน์พังถล่ม ประชาชนได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก เป็นสาธารณภัยร้ายแรงอย่างยิ่ง ป็นต้องร้องขอความช่วยเหลือ การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือ และอุปกรณ์จากต่างประเทศ ทั้งนี้ มีทีมค้นหาและกู้ภัยในเมือง (USAR Team) ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะภัยพิบัติ และหน่วยงานด้านการจัดการภัยพิบัติ ในประเทศไทยและประเทศสมาชิกภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เข้าร่วมการฝึกฯ กว่า 400 คน



สุดาภรณ์ อินต๊ะธรรม // ภาพ-ข่าว สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ 15 ธันวาคม 2562