อำนาจ…พูด แอ่วเชียงตุง (1)

อำนาจ…พูด
แอ่วเชียงตุง (1)
จั่วหัวเรื่องแอ่วเชียงตุง ที่จริงไมได้มาแอ่ว มาทำข่าวร่วมกับคณะผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นำคณะหัวหน้าส่วนราชการ นักธุรกิจ ไปเชื่อมสัมพันธ์กับเมืองเชียงตุง เมียนมา หลังจากที่ลงนามบันทึกข้อตกลงเป็นพี่เมืองน้องกัน เมื่อหลายเดือนก่อนที่กรุงเนปิดอเมืองหลวงเมียนมา ต่อหน้านายกรัฐมนตรีไทย และนายกเมียนมา เมื่อเป็นเมืองพี่เมืองน้องกัน จึงต้องมีการสานสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เป็นที่มาของการเดินทาง
ความจริงแล้วผมตั้งใจจะพูด…ตั้งแต่เมื่อวานนี้ที่มาถึงเชียงตุง แต่พูดไม่ได้เนื่องจากเน็ตที่โรงแรมใช่ไม่ได้เลย วันนี้ไปซื้อซิมเน็ตของพม่ามาใช้ แต่ความแรงไม่พอ กระท่อนกระแท่นช้ามาก ผมนั่งเขียนนี้ ในขณะที่เพื่อนๆออกไปชมความเป็นเมืองเก่าของเชียงตุง ก็ไม่แน่ใจว่าเขียนเสร็จจะโพสส่งได้หรือไม่
ครับคณะเชียงใหม่ออกจากศาลากลางจังหวัด 6 โมงเช้าวันที่ 27 ส.ค.58 ใช้เวลา 4 ช.ม.กว่ามาถึงแม่สาย หลังทานอาหารกลางวันที่โรงแรมแม่โขงเดลต้า ก็ผ่านด่าน ตม.ของ 2 ประเทศสะดวกสบายโดยไม่ต้องลงรถ วิ่งไปตามถนน A 3 B ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง ด้วยถนนมอเตอเวย์ ทางกว้างแค่ 2 เลนปูด้วยยางมะตอยใช้ ความเร็วจึงไม่เกิน 60-70 กม.ต่อชั่วโมง ครึ่งหนึ่งระหว่างท่าขี้เหล็ก – เชียงตุง รถแล่นเรียบแม่น้ำท่าเดื่อ ทัศนีย์ภาพสวยงามมาก มีต้นไม้ใหญ่ให้เห็นตลอดรายทาง แต่ไกด์ชาวไทยเขินบอกว่า ต้นไมใหญ่ข้างถนนถูกตัดไปหมดเพื่อแลกกับการได้มาถนนที่เดินทางเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามป่าไม้ส่วนใหญ่ยังมีอยู่มากกว่า 90% เพื่อให้เป็นแหล่งของต้นน้ำ เมื่อน้ำมีกระแสไฟฟ้าก็มีให้ใช้ ใช้น้ำปั่นกระแสไฟ ผู้คนต้องการใช้ไฟฟ้า จึงช่วยกันรักษาป่าเพื่อให้ได้มาซึ่งไฟฟ้า นี่เป็นกุศโลบายของรัฐบาลพม่าในการรักษาป่า
ครึ่งทางผ่านไป 50 กม.แรกหยุดพักที่บ้านท่าเดื่อแวะที่ร้ านอาหารเพื่อให้คณะกว่า 130 คนเข้าห้องน้ำ ตามรูปสาวๆเข้าคิวรอกันจะเห็นเจ๊เดือนรอกับเขาด้วยไม่รู้ว่าอั้นไหวหรือเปล่า ที่นี่มีป้านั่งขายก๋วยเตี๋ยวน้ำเงี้ยวหลายคนสั่งมากินกันต่างยกนิ้วให้อร่อยมาก ชาม 30 บาท ขึ้นรถไกด์เล่าว่าคนไทลื้อ ไทเขินไทใหญ่ ไทยอง ชอบทานผงชูรสกัน ที่อร่อยคงเพราะชูรสหลายคนถึงฮือ..
จากบ้านท่าเดื่อกผ่านเฉียดๆไปเมืองพยาก ไกด์เล่าว่าเส้นทางนี้สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเส้นทางทหารไทยกับทหารญี่ปุ่น มายึดครองเชียงตุง รัฐบาลไทยส่งจอมพลผิน ชุณหวัณ มาเป็นข้าหลวงปกครองเชียงตุงนาน 3 ปีกว่า เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามไทยก็ถอนทหารกลับประเทศทางเส้นทางนี้ สมัยก่อนเป็นป่าดงดิบ ทหารไทยเสียชีวิตจากไข้ป่าจำนวนมาก
ใช้เวลาเกือบ 4 ชม.ก็มาถึงเมืองเชียงตุงบางคนตื่นเต้น เมื่อเห็นเมืองแล้ว บนถนนหนทางรถมีวิ่งน้อยมาก นับจำนวนคันได้ เปรียบได้ว่าเหมือนเชียงใหม่ 50 ปีก่อน แต่น่าจะมากกว่าคือ 80 ปีขึ้นไป ที่พูดอย่างนี้ 50 ปีที่แล้วเชียงใหม่มีตึกรามสูงและรถยนต์หนาแน่นแล้ว ผมมาครั้งนี้เป็นครั้งที่สองไม่ค่อยตื่นเต้น ก้าวแรกทีเหยียบเมืองเชียงตุงคือไปไหว้พระประธานที่วัดอินสาน ชื่อวัดมาจากเมื่อ 700 กว่าปีก่อนเจ้าเมืองเชียงตุงต้องการสร้างพระพุทธรูปที่ไม่เหมือนใคร สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ สร้างด้วยปูน ปั้นด้วยดินก็มีแล้ว คืออยากได้แปลกๆ ทราบว่าที่ดอยสูงมีไม้ไผ่เหนียวจึงสั่งให้ช่างนำมาจักรสานเป็นพระพุทธรูป ช่างจักรสานสร้างได้ถึงองค์แต่เศียรสานไม่ได้ทำอย่างไรก็ไม่ได้ เจ้าเมืองจึงสั่งประหารชีวิตช่างนำไปตัดหัว และก็ตัดหัวช่างไปหลายคนโทษฐานสร้างไม่สำเร็จ จนมาถึงช่างอีกคนก็ทำไม่ได้ มีเทวดาปลอมตัวเข้ามาช่วยทำเศียรจนสำเร็จพร้อมลงลักปิดทองสวยงาม ช่างคนนี้เลยรอดจากการประหารชีวิตจากวันนั้นถึงวันนี้พระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้านตั้งชื่อว่าพระอินสาน เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงตุงตั้งแต่นั้นมา ว่ากันว่าใครขอสิ่งใดมักจะได้สมใจ
อ่านต่อตอนสอง