ตั้งเป็นหน้าแรกของคุณ | ADD TO FAVORITES

มช.คว้ากระทงยอดเยี่ยม รับถ้วยพระราชทานบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กระทงยอดเยี่ยม รับถ้วยพระราชทานบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กระทงยอดเยี่ยม ถ้วยพระราชทานบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กระทงยอดเยี่ยม ถ้วยพระราชทานบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กระทงยอดเยี่ยม ถ้วยพระราชทานบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กระทงยอดเยี่ยม ถ้วยพระราชทานบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กระทงยอดเยี่ยม ถ้วยพระราชทานบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลการประกวดกระทงใหญ่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครองถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

1.กระทงยอดเยี่ยม รับถ้วยพระราชทานบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2.รางวัลชนะเลิศ คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

3.รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

4.รางวัลรองชนะเลิศอันดับสองได้แก่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา แนวคิดในการออกแบบรถกระทงครองถ้วยพระราชทาน มช.ภายใต้แนวความคิดดังนี้ “เฉลิมทิพยรัฏฐ์ นพบุรงามวัฒน์สง่านคร”

รางวัลชนะเลิศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
รางวัลชนะเลิศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแห่งแรกในส่วนภูมิภาค จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง อำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติโดยส่วนรวม ด้วยสัญลักษณ์ช้างชูคบเพลิง อันเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เป็นสัญลักษณ์แห่งบารมี ขบวนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้อัญเชิญพญาช้างเอราวัณ อันเป็นช้างที่มีพละกำลัง เป็นพาหนะของพระอินทร์อันสถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กำหนดให้เป็นประธานของรถกระทง ซึ่งมีตราพระราชลัญจกรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ประทับอยู่ในวิมานมาลาบนหลังช้างเอราวัณ ตามคติความเชื่อเทวราชาของคนไทย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมุติเทพ ประดับประดาด้วยต้นปาริชาติอันเป็นดอกไม้ทิพย์ ช้างเอราวัณ นับเป็นเจ้าแห่งช้างทั้งปวงในสากลจักรวาล มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา ผิวกายเผือกผ่อง เป็นพาหนะคู่พระทัยของพระอินทร์ เป็นสัญลักษณ์ของการกระทำความดี และสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ส่วนด้านหน้าและท้ายขบวนประกอบไปด้วยบริวารช้างมงคลทั้ง 4 เชือก

ช้างแต่ละหัวมีงาเจ็ดงา แต่ละงามีสระโบกขรณีเจ็ดสระ แต่ละสระมีกอบัวเจ็ดกอ แต่ละกอมีดอกบัวเจ็ดดอก แต่ละดอกมีกลีบเจ็ดกลีบ แต่ละกลีบมีเทพธิดาฟ้อนรำรายรอบ ด้านหน้ามีพญานกยูง(มยุเรศ) เป็นสัญลักษณ์แทนกษัตริย์ แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง สว่างไสว ดั่งพระอาทิตย์ และความสง่างาม ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา ด้านหลังมีเครื่องสัตตภัณฑ์ สัญลักษณ์แห่งการจำลองเขาพระสุเมรุ ตามคติความเชื่อศูนย์กลางจักรวาลและการกำเนิดโลก นาฏดุริยการ ได้ริรังสร้างสรรค์จำลองนาฏยกรรมของเทพธิดาทั้ง 33 องค์ ประกอบเสียงทิพยดนตรีโดยใช้ท่วงทำนองเดิมของเพลงพร้าวไกวใบ เรียบเรียงแต่งทำนอง สอดประสานเพิ่มเติมโดยใช้การแปรทำนองหลักและออกแบบเสียงประสานใหม่ให้เชื่อมองค์ประกอบต่างๆ ในดนตรี ทำให้เกิดความสอดคล้องกับความประณีตของรถกระทง การแสดงประกอบ “เฉลิมทิพยรัฏฐ์ นพบุรงามวัฒน์สง่านคร” ชุดนี้จึงเป็นนำเสนอให้เห็นถึงความศิวิไลซ์ที่เชื่อมโยงระหว่างประเพณีวัฒนธรรมและนวัตกรรม รายละเอียดต่างๆ ถูกเพิ่มลงบนศิลปะแบบดั้งเดิม โดยยังคงอัตลักษณ์ไว้อย่างดีเช่นเมืองเชียงใหม่ที่พร้อมจะพัฒนาก้าวหน้าทั้งยังรักษาศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ได้อย่างงดงาม

ติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่website : www.phaknuadaily.com

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ Email:phaknua56@gmail.com

#ลอยกระทง #ประกวดกระทงใหญ่ #รถกระทง #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #เชียงใหม่ #สำนักข่าวภาคเหนือ #มหาวิทยาลัยแม่โจ้ #มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา #มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

แท็ก คำค้นหา