งาน 10 ปีคนเชียงใหม่ได้อะไร จากโครงการอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย
วันที่ 11 สิงหาคม 2558 ณ ห้องรอยัล ออคิต บอลลูม โรงแรมเชียงใหม่ออคิต จ.เชียงใหม่ ศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เข้าร่วมเปิดงาน 10 ปีคนเชียงใหม่ได้อะไร จากโครงการอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย โดยมี นพ.ไพศาล ธัญญาวินิชกุล นายแพทยสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ดร.ทพ.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน ผู้จัดการโครงการพืชอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ , จากโครงการนี้สรุปได้ว่า ในช่วงเวลา 20 ปีย้อนหลัง คนเชียงใหม่โดยเฉพาะเกษตรกร ได้รับผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 97.8 บางกลุ่มถูกตัดขาเนื่องใช้ สารเคมีฆ่าหญ้า บางกลุ่มเป็นมะเร็ง บางกลุ่มประสาทหลอน เนื่องจากใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมตและกลุ่มออร์โนคลอรีนอย่างเข้มข้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดูสวยงาม น่ารับประทาน แต่เต็มไปด้วยยาพิษผลการตรวจสารเคมีค้างในร่างกายเกษตรกร 10 คน พบสารเคมีตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยสูงสุด 9 คน รองลมมาระดับ เสี่ยง 1 คน นอกจากนี้ยังพบว่า สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะน้ำในแม่น้ำ เริ่มเน่าเสียเนื่องจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช บนต้นน้ำสายหลักของเมืองเชียงใหม่ ส่งผลให้ปลาในแม่น้ำตายลอยเป็นแพ ในปี 2548 สำนักสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จึงร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดทำโครงการอาหารเชียงใหม่ปลอดภัยขึ้น โดยมีเป้าหมาย ปี 2559 จังหวัดเชียงใหม่จะเป็นจังหวัดพืชอาหารปลอดภัย ประชาชนเข้าถึงและบริโภคอาหารปลอดภัย โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ในการ ดำเนินงาน 3 ระยะคือ ระยะ 1 พ.ศ.2548-2550 เป็นระยะเริ่มต้น สนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกร ลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อสุขภาพตนเอง ครอบครัว และผู้บริโภค ระยะที่ 2 พ.ศ.2551-2554 เป็นระยะรับรองมาตรฐานพืชผัก ผลไม้ ตามมาตรฐานพืชอาหารเชียงใหม่ปลอดภัย ระยะที่ 3 พ.ศ.2555-2558 เป็นระยะส่งเสริมการตลาดพืชอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคและมีการบริหารจัดการในรูปของคณะกรรมการจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานมีการประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และกำกับทิศทางการดำเนินงานปีละ 3 ครั้ง การแถลงผลการดำเนินงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากภาคีเครื่อข่ายที่ร่วมขับเคลื่อนตลอดระยะเวลา 10 ปี ประกอบด้วย เครือข่ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่/นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,เครือข่ายตลาดสดน่าซื้อ , เครือข่ายชุมชนเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย ,เครือข่ายผู้เลี้ยงหมูปลอดภัย วิถีชุมชน ,เครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา ,ชมรมแม่บ้านเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยจังหวัดเชียงใหม่ ,เครือข่ายเกษตรกรผู้รวบรวมผลผลิตส่งจำหน่าย,เครือข่ายร้านอาหารใช้ผักปลอดภัยปรุงประกอบอาหาร,เครือข่ายโครงการอาหารกลางวันปลอดสารพิษ ,เครือข่ายร้านอาหารเพื่อสุขภาพ สรุปที่ผ่านมาโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดระยะเวลา 10 ปี และในปีต่อไปทำให้คนเชียงใหม่มีวันนี้ได้อย่างภูมิใจ ดร.ทพ.สุรสิงห์ วิศรุตรัตน์ กล่าว