ชาวนาไทได้เฮ มช.ปรับปรุงพันธุ์ข้าวสำเร็จ 1 ไร่ ผลผลิต 1 ตัน
ชาวนาไทยได้เฮ มช ปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวคุณภาพเยี่ยม ผลิตได้ไร่ละไม่ต่ำกว่าพันตัน ต้านทานแมลง และโรคได้ดี จัดพิธีแถลงข่าว“ข้าวสายพันธุ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมข้าวไทย 4.0” พร้อมลงนามความร่วมมือกับสภาเกษตรกรราชบุรี และสภาเกตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 15 พ.ย. 62 ณ สถาบันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์ความเป็นเลิศทางฟิสิกส์ จัดพิธีแถลงข่าวเรื่อง “ข้าวสายพันธุ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมข้าวไทย 4.0” และการลงนามความร่วมมือวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรี และสถาบันเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ มีสภาเกษตรกรอีกหลายจังหวัดในภาคเหนือ และภาคกลางเข้าร่วมด้วย โดยศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานในพิธีฯ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรแห่งชาติ นายองอาจ ปัญญาชาติรักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรรมการสภาเกษตรแห่งชาติ และนักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศทางฟิสิกส์ มช. เผยว่าการปรับปรุงพันธุ์ข้าวประสบความสำเร็จเป็นแห่งที่ 2 ของโลกรองจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาการเกษตรด้านข้าว ซึ่งมีกรอบความร่วมมือโดยใช้สายพันธุ์ข้าวพันธุ์กลายที่ได้จากการชักนำในเกิดการกลายพันธุ์ในข้าวขาวดอกมะลิ 105 FRK-1 ข้าวสังข์หยดพัทลุงพันธุ์กลาย MSY-4 ข้าวสังข์หยดพัทลุงพันธุ์กลาย OSSY-23 ด้วยลำไอออนพลังงานต่ำ ไปทดลองปลูกที่จังหวัดราชบุรีประสบความสำเร็จมาแล้ว และจะได้นำไปพัฒนาที่จังหวัดอุตรดิตถ์ไปและเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการช่วยแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีการลงนามความร่วมมือในวันนี้ด้วย
ศ.เกียรติคุณนายแพทย์นิเวทศ์ นันทจิต อธิการบดี มช.นำ ศ.เกียรติคุณ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ผ.อ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ มช. ดร.จิรณัทฐ์ เตชะรัง และ ดร.บุญรักษ์ พันธ์ไชยศรี 2 นักวิชาการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มช. เปิดเผยว่าความสำเร็จการปรับปรุงข้าวสายพันธุ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมข้าวไทย 4.0 เกิดจากความความร่วมมือหลายฝ่ายเนื่องจากประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นๆของโลกมาตลอด ในปี 2561 รั้งตำแหน่งที่ 2 รองจากประเทศอินเดีย แต่ที่ผ่านมาชาวนาไทยกลับถูกปล่อยให้ตกอยู่ในสภาพ “ปลูกข้าวนาปีมีแต่หนี้กับซัง ปลูกข้าวนาปรังมีแต่ซังกับหนี้”

เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตต่ าของข้าวที่เกษตรกรเพาะปลูกและเพิ่มทางเลือกให้กับชาวนาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้นสังกัดของนักวิจัย และศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ผู้สนับสนุนงบประมาณการวิจัยและพัฒนา ได้ร่วมกันส่งเสริมสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรี ผู้ริเริ่มโครงการทำนายุค 4.0 ที่ต้องการให้เกษตรกรมีรายได้อย่างต่ำ10,000 บาท / ไร่ และมีตลาดรองรับที่แน่นอน ด้วยการส่งมอบข้าวสายพันธุ์ใหม่คุณภาพดี ผลผลิตสูง ที่พัฒนาสายพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีชักน่าให้เกิดการกลายพันธุ์ในข้าวด้วยล่าไอออนพลังงานต่่า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ของโลก ที่ใช้เวลากว่า 10 ปีคิดค้นพัฒนาขึ้นเองที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งด้านวิธีการ และเครื่องมือ มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วกว่าวิธีการดั้งเดิมมาก ตลอดปี 2562 สภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรี และวิสาหกิจชุมชนเกษตรห้วยไผ่เพื่อการผลิต จ. ราชบุรี โดยการให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้รวมประมาณ 50 ตัน เพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่จะส่งมอบให้กับชาวนาที่เป็นสมาชิกของโครงการไม่น้อยกว่า 1,000 ราย เพื่อเพาะปลูกในฤดูนาปรังและฤดูนาปี 2563 ในพื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่ โดยชาวนาสมาชิกสามารถเลือกปลูกได้ 3 พันธุ์ที่มีความต้องการของตลาดที่แน่นอน โดยข้าวทั้ง 3 พันธุ์มีจุดเด่นดังต่อไปนี้

1) ข้าวหอมเพื่อการบริโภค (มช 10-1 หรือ FRK-1): เป็นข้าวเจ้าหอมพื้นอ่อน ไวต่อช่วงแสง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 124 วัน (โดยวิธีปักดำ) ค่อนข้างต้านทานโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการบริโภค มีการยอมรับของผู้บริโภคใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในแง่ของสี, รสชาติ และเนื้อสัมผัส แต่จะนุ่มและคงสภาพความนุ่มนานกว่าแม้เมื่อเก็บไว้จนเย็นแล้ว และยังมีระดับสารหอม 2AP สูงถึง 6.55 ppm สูงกว่าระดับสารหอม 4.74 ppm ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่แปลงปลูก จ. ราชบุรี ฤดูนาปี 2561 และที่สำคัญมีผลผลิตเกี่ยวสดเฉลี่ย 2.13 ตัน/ ไร่ สูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิพันธุ์ดั้งเดิมที่ให้ผลผลิตเกี่ยวสดเฉลี่ย 0.5 ตัน / ไร่ เมื่อปลูกคู่กัน (แปลงปลูก จ. ราชบุรี ฤดูนาปี 2561) ดังนั้นจะท าให้ชาวนามีก าไรแน่นอนเมื่อหักต้นทุนประมาณ 5,000 บาท / ไร่ออกแล้ว2) ข้าวเพื่ออุตสาหกรรมแป้ง (เทพ 10-5 หรือ MSY-4): เป็นข้าวเจ้าหอมอ่อนพื้นแข็ง ไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 122 วัน ค่อนข้างต้านทานโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล มีสารหอม 2AP ระดับ 0.79 ppm ผลผลิตเกี่ยวสด 1.54 ตัน / ไร่ (ข้าวปทุมธานี 1 ได้ผลผลิตเกี่ยวสด 0.99 ตัน / ไร่) ในแปลงปลูกที่ จ. ราชบุรี ฤดูนาปรัง 2562 เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมแป้งและการแปรรูปเป็นเส้นขนมจีน3) ข้าวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์(เทพ 10-7 หรือ OSSY-23): เป็นข้าวเจ้าพื้นแข็ง ไม่ไวต่อช่วงแสง มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 122 วัน ค่อนข้างต้านทานโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล มีปริมาณโปรตีน 10.3% มีปริมาณไขมัน 3.6% ผลผลิตเกี่ยวสด 1.540 ตัน / ไร่ เหมาะที่จะน าไปเป็นอาหารสัตว์เช่นหมู ที่ต้องการอาหาร 2.2 กิโลกรัม / วัน / ตัวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ และสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรีพร้อมด้วยวิสาหกิจชุมชนเกษตรห้วยไผ่เพื่อการผลิต จ.ราชบุรี ให้ความส าคัญเป็นอย่างยิ่งกับการส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของชาวนาไทย ได้ใช้เทคโนโลยีล าไอออนดังกล่าว พัฒนาข้าวอีกหลายสายพันธุ์ใหม่ ที่พบว่าน่าสนใจมากขณะนี้ก็คือ

ก) ข้าวญี่ปุ่นก่่า (AKM-P-22) ส่าหรับการบริโภคเพื่อสุขภาพ: เป็นข้าวกล้องสีก่ าทั้งเมล็ด กาบใบสีม่วง ผลผลิต 600-800 กก. / ไร่คุณภาพหุงต้มรับประทานดีมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีตลาดอาหารญี่ปุ่นรับซื้อแน่นอน
ข) ข้าวญี่ปุ่น (AKM-6-1) สำหรับการบริโภคทั่วไป: ผลผลิต 900 – 1,180 กก. / ไร่ มีปริมาณอมิโลส 20.6 % คุณภาพหุงต้มรับประทานดีใกล้เคียงกับพันธุ์ดั้งเดิม กวก.2
ในขณะที่พันธุ์ดั้งเดิม กวก.2 ให้ผลผลิตต่ำเพียง 304 – 584 กก. / ไร่ เมื่อแน่ใจว่าข้าวญี่ปุ่นสายพันธุ์ใหม่ทั้งสองเสถียรตามมาตรฐานแล้วจะได้นำไปส่งเสริมแก่ชาวนา เพื่อจะมีตัวเลือกมากขึ้นต่อไป
