มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโครงการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่: (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด CMU Smart City-Clean Energy สร้างเมืองแห่งความสุข รองรับความเป็นสังคมอุดมปัญญา ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ให้กับชุมชนชาว มช.

CMU Smart City-Clean Energy
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโครงการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่: (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด CMU Smart City-Clean Energy สร้างเมืองแห่งความสุข รองรับความเป็นสังคมอุดมปัญญา ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ให้กับชุมชนชาว มช.
อาจารย์ ดร.เอกชัย มหาเอก รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม การออกแบบ และภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าคณะทำงานโครงการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่: (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด กล่าวว่า เชียงใหม่เป็นเมืองขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรกว่าหนึ่งล้านคน กว่าครึ่งหนึ่งของประชากร คือ ประชากรของเมืองมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ประกอบด้วย สถานศึกษา โรงพยาบาล และชุมชนพักอาศัย CMU Smart City-Clean Energy ถือเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญในการนำมหาวิทยาลัยไปสู่เมืองต้นแบบอัจฉริยะพลังงานสะอาด ซึ่งมีการดำเนินโครงการ ดังนี้
1. CMU Smart City หล่อเลี้ยงด้วยพลังงานทดแทนกว่า 50% ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพลังงานครบวงจรด้วยระบบ SMART Grid ช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้พลังงานเป็นผู้ผลิตพลังงานได้ตามหลัก Prosumer System
2. การวางผังเมืองด้วยระบบ Smart Growth ก่อให้เกิด Smart Mobility ในระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะ / Park & Ride เชื่อมต่อรถไฟฟ้า ทางเท้า ทางจักรยาน และ No-car-zone บริหารจัดการด้วย Campus Management Centre บนโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมทั่วทั้งเมือง
3. CMU Smart Community ประกอบด้วย Innovative Learning Centre ที่ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้หลากหลายช่องทาง และ Life Long Learning รวมทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชนแบบ Interactive Communication และศูนย์สุขภาพครบวงจร CMU Smart Health Hub
4. Green Network Area มากกว่า 30% ของเมืองได้รับการหล่อเลี้ยงจากอ่างเก็บน้ำธรรมชาติ และอ่างประดิษฐ์ ใช้สำหรับอุปโภคและบำบัดน้ำเสียได้ 100% ขยะทั้งหมดของเมืองถูกบริหารจัดการอย่างครบวงจรแบบ Zero Waste Management
5. การพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจอัจฉริยะ ของเมืองอย่างยั่งยืนด้วยการออกแบบแนวคิดผ่าน Business Model Canvas ส่งเสริมให้เกิดสังคมผู้ประกอบการแบบ Creative Economy ด้วย Fin Tech
6. อาคารใหม่และอาคารที่ได้รับการคัดสรรการออกแบบ มีการปรับปรุงอาคารให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์ของ TREEs ระดับ Platinum
7. การบริหารและจัดการเมืองถูกกำกับด้วยยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฉบับที่ 12 โดยมีผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิกำกับดูแลโดยตรง
8. นวัตกรรมใหม่ถูกคิดค้นและนำไปใช้อย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ระบบจัดการขยะครบวงจรเพื่อผลิตพลังงานทดแทน ระบบจัดเก็บขยะอัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูลการคมนาคมอัจฉริยะ ระบบควบคุมอาคารอัจฉริยะ และ Personal Smart Control
ทั้งนี้ CMU Smart City-Clean Energy หรือ โครงการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่: (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 7 องค์กรต้นแบบของโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ ด้วยการประกวดแบบการพัฒนาผังแม่บทระดับประเทศตามเกณฑ์ชี้วัดของสถาบันอาคารเขียว เข้ารอบการคัดเลือกในขั้นตอนสุดท้าย ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นงบประมาณ 10,000,000 บาท เพื่อพัฒนาแผนดำเนินการต่อเนื่อง นับเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของมหาวิทยาลัยอย่างยิ่ง
อาจารย์ ดร.เอกชัย มหาเอก กล่าวในตอนท้ายว่า ตลอด 53 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ผลิตบุคลากรสู่สังคมมากกว่า 8,000 คนต่อปี ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะแห่งความสุข เกิดสังคมอุดมปัญญา เติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน เมืองอัจฉริยะแห่งนี้ จึงมิใช่เพียงแค่วามฝัน แต่กำลังจะเกิดขึ้นจริงแล้ว ณ CMU Smart City-Clean Energy